วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Juck food good or bad

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                ปัจจุบันนี้สังคมไทยเปลี่ยนไปมาก เต็มไปด้วยการแข่งขันเร่งรีบประกอบกับการโฆษณา ยุคโลกาภิวัฒน์ในสหัสวรรษใหม่ ข้อมูลข่าวสารไหลมาตามช่องทางต่างๆ ถึงตัวผู้บริโภคได้รวดเร็ว ไม่มีเวลา ได้พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล
                วิถีชีวิตและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนเมือง ทำให้ต้องฝากปากท้องกับอาหารสำเร็จรูปและอาหารจานด่วน ซึ่งส่วนมากจะมาในรูปอาหารตะวันตก ประเภทสะดวก เร็ว อิ่ม (แต่แพง) เพราะซื้อหาได้ทั่วไป ถูกปากคนรุ่นใหม่ ใส่บรรจุภัณฑ์เก๋ไก๋ พกพาไปได้ทั่ว รับประทานได้ทุกที่
                คำว่า Junk Food เป็นศัพท์แสลงของอาหารที่มีสารอาหารจำกัด หรือที่เรียกกันว่า อาหารขยะ อาหารไร้ประโยชน์ อาหารที่นักโภชนาการไม่เคยแนะนำอะไรทำนองนี้ แต่ขึ้นชื่อว่า Junk Food จะต้องประกอบด้วยสารอาหารที่ให้พลังงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำตาล ไขมัน แป้ง และมีส่วนประกอบโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ น้อยมาก ตัวอย่างเช่น ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม รสหวาน ลูกอม หมากฝรั่ง ขนมหวานทุกชนิด อาหารทอด อาหารจานด่วนบางชนิด และน้ำอัดลม หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Empty Calorie มีความหมายว่า ไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์เลย เทียบกับอาหารไทยโดยพื้นฐานแล้ว ในหนึ่งจานให้คุณค่าหลากหลาย ไขมันต่ำกว่า อุดมด้วยสมุนไพร ที่เป็นคุณต่อสุขภาพ แต่ด้วยความเร่งรัดของวิถีชีวิตทำให้คนไม่มีเวลาเลือกหาและไม่ยอมเสียเวลาปรุงอาหารรับประทานเอง อย่างน้อยหนึ่งมื้อในหนึ่งวันของใครหลายคนจึงเลือก Junk Food เป็นทางออก ขณะเดียวกันก็ยอมเสียสตางค์แพงๆ เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาเติมเต็มทดแทน ส่วนที่ขาดหายไปถ้าคนไทยไม่รู้จักแฮมเบอร์เกอร์ เฟรนซ์ฟราย พิซซ่า แต่ยังคงกินน้ำพริกปลาทู ข้าวกล้อง ส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง แกงส้มโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เบาหวาน และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ไม่น่าจะเจอในคนอายุน้อยๆ เหมือนที่พบมากในปัจจุบัน ที่สำคัญเงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศจำนวนมหาศาลต่อปี
                Junk Food ส่วนใหญ่ จะให้พลังงานที่ได้มาจาก ส่วนประกอบ 3 อันดับแรกคือ น้ำตาล ไขมัน และแป้ง ดังนั้น ต้องพิจารณาให้ดี อาหารสำเร็จรูปบางชนิดจะมีฉลากโภชนาการแจ้งให้ทราบ อาหาร Junk Food ยอดนิยมยังขาดสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายอยู่หลายชนิด และในทางตรงกันข้ามก็มีพลังงานหรือสารอาหารบางตัวที่ยังไม่สมดุลกับความต้องการ การดูแลสุขภาพร่างกายให้พร้อมสำหรับชีวิตประจำวัน เพื่อให้ร่างกายมีความสมบูรณ์และแข็งแรงในรูปแบบง่ายๆ ซึ่งเราๆ ท่านๆ ท่องจำขึ้นใจ เป็นเสียงเดียวกันว่า หนึ่ง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สอง รับประทานอาหาร ให้ถูกหลักโภชนาการ และสาม พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถามว่ามีสักกี่คนที่ปฏิบัติทั้ง 3 ข้อนี้ได้อย่างแท้จริง
                คณะทำงานเห็นว่า คุณภาพชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญต่อสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ จึงศึกษาค้นคว้าในเรื่องของประโยชน์และโทษ เพื่อนำไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารดังกล่าว จะทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลประโยชน์และโทษ สามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีต่อตนเองและขยายไปสู่สังคม ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลของตนเองและประเทศได้ จึงจัดทำโครงงานJunk FoodGood Or Badของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 4 ขึ้นโดยเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่กระบวนการคิดขั้นสูง, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับวิชาหน้าที่พลเมืองและกิจกรรมสาธารณประโยชน์
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                1. เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารขยะ
                2. เพื่อวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของอาหารขยะ
                3. เพื่อนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ขอบเขต
                ประชากร
                                นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                กลุ่มตัวอย่าง
                                นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                1.รู้ข้อดีข้อเสียของอาหารขยะ
                2.สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

นิยามศัพท์
                ข้าวโพดคั่ว หรือ ป๊อปคอร์น (Popcorn) เป็นอาหารว่างอย่างหนึ่ง ผลิตจากเมล็ดข้าวโพด ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหลายชนชาติ
                คุกกี้ (Cookie) คือขนมอบชิ้นเล็ก ๆ รูปร่างแบน ซึ่งทำจากแป้งสาลี ทำโดยการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเข้าเตาอบ เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก คำว่า "คุกกี้" ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า "บิสกิต" (biscuit)
                เค้ก (Cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีลักษณะหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้งสาลี, น้ำตาลเทียม และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ไข่, แป้งสาลี, ผัก, ผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว เป็นต้น หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย, ชีส, ยีสต์, นม, เนยเทียม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง
                ช็อกโกแลต (Chocolate) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก
                โดนัท (Doughnut, Donut) เป็นขนมแป้งทอดหรืออบ ที่มีเนื้อคล้ายกับขนมเค้ก มีลักษณะกลมมีรูตรงกลางคล้ายกับห่วงยาง มีหลายรสชาติ ถ้าเป็นของไทยจะมีน้ำตาลอยู่ที่ผิวของขนม โดนัทสามารถแบ่งออกตามกรรมวิธีการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ โดนัทยีสต์ และโดนัทเค้ก
                พิซซ่า (Pizza) เป็นอาหารอิตาเลียนและฟาสต์ฟู้ดประเภทหนึ่ง ซึ่งชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ
                มันฝรั่งแท่งทอดกรอบ หรือ French fries คือ การนำเอามันฝรั่งสดมาหั่นเป็นชิ้นๆให้คล้ายกับปลาหรือเป็นแท่งยาวๆ แล้วจึงนำไปทอด


                ลูกอม หรือ Candy หมายถึง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้อมหรือเคี้ยว ที่มีการแต่งรสใดๆ มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก  และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อปรุงแต่งกลิ่นรสด้วยหรือไม่ก็ได้
                อาหารขยะ หรือ Junk food เป็นคำใช้กับอาหารที่มีแคลอรีจากน้ำตาลหรือไขมันสูง โดยมีโปรตีน วิตามินหรือเกลือแร่ต่ำ การใช้คำนี้ส่อว่า อาหารนั้น ๆ มี "คุณค่าทางโภชนาการ" ต่ำและมีไขมัน น้ำตาล เกลือและแคลอรีมากเกิน
                อาหารจานด่วน หรือ Fast food เป็นคำจำกัดความของอาหารที่สามารถเตรียมและปรุงได้อย่างรวดเร็วมาก ขณะที่อาหารมื้อใดๆ ก็ตามที่ใช้เวลาในการเตรียมและปรุงสั้นก็อาจจัดว่าเป็นอาหารจานด่วน
                ฮอตดอก (Hot Dog) เป็นชื่อเรียกไส้กรอกชนิดที่เรียกว่า Frankfurturหรือ Frank และ Wiennerโดยมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากไส้กรอกทั่วไป คือมีขนาดกลมยาวและเล็กกว่าไส้กรอกชนิดอื่น ๆ โดยส่วนผสมพื้นฐานก็คล้ายๆ กับไส้กรอก นิยมนำเนื้อหมูและเนื้อวัวมาทำมากกว่าเนื้อสัตว์อื่น ผ่านการบดที่ละเอียดเนียนอีกทั้งใส่ปริมาณกลิ่นรสของเครื่องเทศและสมุนไพรที่รสชาติอ่อนกว่าไส้กรอกทั่วไป แล้วบรรจุลงในไส้ซึ่งส่วนใหญ่นิยม 2 ขนาด คือไส้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร จากนั้นนำไปผ่านการทำให้สุก

                แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger)หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบอร์เกอร์ (burger) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ถือว่าอยู่ในประเภทเดียวกับแซนวิช ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ปรุงแล้วที่มีลักษณะเป็นแผ่นสอดไส้อยู่ตรงกลาง อาทิเช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลาทอด หรือเป็นเนื้อสัตว์หลายประเภทผสมกัน ประกบบนล่างด้วยขนมปังแผ่นกลม มีการสอดไส้ด้วยผักชนิดต่างๆ เช่น มะเขือเทศ ผักกาดหอม หัวหอมใหญ่ และเครื่องปรุงรสอื่น เช่น มัสตาร์ด มายองเนส ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
 บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                ในการจัดทำโครงงาน  Junk Food Good Or Bad ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 4 คณะผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่าง ๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

อาหารขยะ
                ความหมายของอาหารขยะ
                คำว่า “Junk Food” เป็นศัพท์แสลงของอาหารที่มีสารอาหารจำกัดหรือที่เรียกว่า อาหารขยะหมายถึง อาหารที่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการน้อย และถ้ากินมากหรือกินประจำจะเป็นโทษต่อร่างกาย อาหารขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วย น้ำตาล ไขมัน และแป้ง แต่มีส่วนประกอบของโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่น้อยมาก เช่น ลูกอม น้ำอัดลม อาหารจานด่วนบางชนิด ขนมขบเคี้ยว บะหมี่ซอง อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแป้งที่ขัดสีเอาเส้นใยและวิตามินออกหมด ใช้น้ำตาลที่ผ่านการฟอกขาว แล้วเติมด้วยสารแต่งสี กลิ่น ผงชูรส ตามด้วยกระบวนการทอด เป็นต้น
                ลักษณะของอาหารขยะ
                อาหารขยะมีลักษณะ 3 ประการ คือ
                1. ซากอาหาร เป็นอาหารที่ไม่สด มีวิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์น้อย รับประทานเข้าไปแล้วเป็นโทษกับร่างกายได้
                2. อาหารดัดแปลงเป็นอาหารที่นำมาจากธรรมชาติ มาดัดแปลงทำให้อร่อยลิ้น ดูน่ารับประทาน เก็บไว้ได้นาน รับประทานเข้าไปแล้วทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินไป ในขณะที่กระบวนการดัดแปลงทำลายวิตามิน เกลือแร่และเอนไซม์จนหมดสิ้น เช่น น้ำตาลทรายขาว กุนเชียง ไส้กรอก ลูกชิ้น เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากเนื้อหมู มีการเจือปนสารกันบูดและสีผสมอาหารเข้าไป
                3. อาหารปลอมปน เป็นอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ มีการปรุงแต่งรส กลิ่น สี ใส่สิ่งปลอมปนลงไปในอาหาร ทำให้อาหารมีรสอร่อย สีสวยน่ารับประทาน ทำให้กรอบ ไม่เปื่อย ไม่บูด โดยการเติมสารเคมีลงไปในอาหาร ทำให้เกิดอันตรายเป็นพิษต่อร่างกายได้ เช่น สารเร่งเนื้อแดง เพื่อทำให้เนื้อหมูมีสีแดงน่ารับประทาน ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น กุ้งแห้ง ขนมลูก กวาดหลากสี ซึ่งขายท้องตลาดล้วนอันตราย ตรวจพบว่า มีส่วนผสมของสีย้อมผ้า ซึ่งมีผลเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ
                ประเภทของอาหารขยะ
                1. อาหารประเภททอด เช่น  ไก่ทอด  มันฝรั่งทอด  จะใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวทอด เพราะว่ามีราคาที่ค่อนข้างถูก ทนต่อความร้อนหรืออุณหภูมิสูงในน้ำมันทอดได้ดี การที่เรารับประทานอาหารขยะ เราจะได้รับไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องการสำหรับ  1  มื้อ  ถ้ารับประทานบ่อยเกินไปอาจมีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้
          2. อาหารหรือขนมที่มีเกลือ  โดยทั่วไปแล้วร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อยภายในหนึ่งวัน  แต่อาหารประเภท  Junk  Food  จะมีปริมาณโซเดียมเป็นส่วนผสมในสัดส่วนที่สูงมากหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากจะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น  และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ปริมาณโซเดียมที่มากที่สุดต่อ 1 วันที่คนเราต้องการนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 มก.   
          3. อาหารประเภทน้ำตาลสูง เช่น  น้ำอัดลม  ลูกอม  โดนัท  จะมีระดับน้ำตาลในปริมาณสูงมาก  การที่เราทานเข้าไปในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจทำให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่น  โรคอ้วน  เบาหวาน  นอกจากนี้ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดฟันผุอีกด้วย
          4. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจะเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายก็จริงแต่หากเรากินเข้าไปมากเกินความต้องการในหนึ่งมื้อ  ส่วนที่เหลือใช้ก็จะเก็บสะสมเป็นไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย  ก็จะทำให้เกิดโรคอ้วน
                โทษของการรับประทานอาหารขยะ
                อาหารขยะนั้น มีสารอาหารหลักจำพวก แป้ง น้ำตาล และไขมัน ซึ่งทั้ง 3 อย่างนั้นเน้นให้พลังงานทั้งหมดด้วยตัวของมันเอง ในขณะเดียวกันสารอาหารจำพวก โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่นั้น หาได้ยากให้อาหารประเภทนี้ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำลายความสมดุลทางโภชนาการของร่างกายของเรา ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่างๆ ดังนี้
                -  เกิดภาวะไม่สมดุลยทางโภชนาการของร่างกาย นั่นคือ การได้รับสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่ง ในปริมาณที่เกินความพอดี ในทางกลับกัน ร่างกายขาดสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป ภาวะเช่นนี้ ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อระบบขับถ่าย และระบบย่อยอาหาร ทำให้ขับถ่ายผิดเวลา บางครั้งถึงกับไม่มีการขับถ่ายเลยในหนึ่งวันนั้นๆ การย่อยอาหารยากขึ้น เนื่องจากขาดใยอาหารที่มีส่วนช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร
                -  เกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สาเหตุมาจาก อาหารประเภทนี้ ให้พลังงานเป็นสารอาหารหลัก เมื่อร่างกายได้รับพลังงานในปริมาณมาก แล้วไม่สามารถใช้ไปให้หมดได้ พลังงานดังกล่าวจะแปรเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของไขมัน แล้วเก็บอยู่ตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ต้นขา ต้นแขน และหน้าท้อง สร้างความไม่มั่นใจแก่ผู้บริโภค บุคลิกภาพแย่ลง และที่ร้ายแรงนั่นคือ โรคอ้วน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคแทรกซ้อนต่างๆอีกมาก เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบ โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด โรคความดันเลือดสูง เป็นต้น     
                -  อันตรายจากวัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิต เพราะอาหารขยะไม่ได้ผ่านการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เนื่องจากความต้องการของผู้ผลิตที่จะผลิตอาหารในปริมาณที่มากแต่ราคาถูก ทำให้วัตถุดิบที่ใช้ผลิตนั้น ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตอาหาร ยกตัวอย่างเช่น เนื้อบดที่ใช้ในการผลิตแฮมเบอร์เกอร์(Hamburger)นั้น เหตุใดจึงต้องบด ทั้งๆที่สามารถใช้เนื้อสัน หรือเนื้อชิ้นส่วนอื่นได้ คำตอบคือ ภายในเนื้อบดนั้น ที่จริงแล้วประกอบไปด้วยเนื้อแท้ๆเพียงไม่กี่ส่วน แต่ที่รวมอยู่ด้วยคือ หนัง เล็บ และส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการขจัดออก นำไปบดรวมกันเพื่อให้ได้ในปริมาณที่ต้องการนั่นเอง ส่วนเรื่องของกรรมวิธีการผลิตนั้น อาหารขยะแทบทั้งหมดใช้วิธีการทอด เพื่อให้อาหารมีความกรอบ และมัน ชวนให้ผู้บริโภคติดใจ และอยากบริโภคอีก โดยที่ไม่คำนึงว่า อาหารจำพวกมันฝรั่ง และแป้ง เมื่อรวมกับน้ำมัน แล้วผ่านความร้อนที่สูง(เช่นกรรมวิธีการทอด) จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้เร็วขึ้นกว่าปกติหลายเท่าตัวเลยทีเดียว
                ไอศกรีมจัดเป็นอาหารขยะ
                ไอศกรีมบางยี่ห้อ บางผู้ผลิตใช้ไขมันที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์แทน ซึ่งไขมันจากสัตว์นั้นมีจำนวนของไขมันอิ่มตัวที่สูง เป็นไขมันชั้นเลวที่หากบริโภคไปมากๆ จะก่อให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ สำหรับสารสังเคราะห์จากสารเคมีที่เป็นอันตราย และได้มีการนำมาผสมในไอศกรีมนั้น มีดังต่อไปนี้
                - ไดอิธิลกลูคอล ( diethyl glucol ) สารเคมีราคาถูก ใช้ตีไขมันให้กระจาย แทนการใช้ ่ไข่ เป็นสารกันเยือกแข็ง ที่ใช้กันน้ำแข็ง ( anti freeze) และผสมในน้ำยากัดสี
                - อัลดีไฮด์ - ซี71 ( aldehyde-C71 ) ใช้สร้างกลิ่น เชอร์รี่ ให้ไอศกรีมเป็นของเหลวติดไฟง่าย และยังนำไปใช้ทำสีอะนิลีน พลาสติกและยาง
                - ไปเปอร์โอรัล ( piperoral )  ใช้แทนวานิลลา เป็นสารเคมีที่ใช้ฆ่าเหาและหมัด
                - อิธิลอะซีเตท (ethyl acetate )  ใช้สร้างกลิ่นรสสับปะรด ใช้เป็นตัวทำความสะอาดหนังและผ้าทอ กลิ่นของสารเคมีตัวนี้ทำให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง ตับ และหัวใจผิดปกติ
                - บิวธีรัลดีไฮด์ ( butyraldehyde)  ใช้สร้างกลิ่นรสเมล็ดในผลไม้เปลือกแข็ง เป็นสารประกอบสำคัญในกาวยาง
                - แอนนิล อะซีเตท( anyle acetate) ใช้สร้างกลิ่นรสกล้วยหอมเป็นสารทำลายใช้ล้างไขมัน
                - เบนซิลอะซีเตท(benzyle acetate)  ใช้สร้างกลิ่นและรสสตรอเบอร์รี่เป็นสารละลายไนเตรท  ทั้งมีสารเติมสีเติมกลิ่น ซึ่งเหล่านี้ล้วนพิสูจน์แล้วว่ามีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดมะเร็งได้ ไอศกรีมจึงจัดเป็นอาหารขยะ ที่เป็นสาเหตุโรคอาหารเป็นพิษ ถึง 98 %
                วิธีทานอาหารขยะอย่างฉลาดเลือก
                อาหารขยะนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าให้โทษมากกว่าคุณประโยชน์ แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่เลิกรับประทานอาหารขยะไม่ได้ เนื่องจากความอร่อยและหาซื้อได้สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นในการรับประทานอาหารขยะ เราควรใส่ใจในการเลือกรับประทานเพื่อสุขภาพที่ดี โดยทำได้ดังนี้
                -  พิซซ่าหน้าผัก หรือเมนูที่มีส่วนผสมของผักและผลไม้ต่างๆ จะช่วยเพิ่มกากใยอาหาร วิตามิน และเกลือแร่อยู่บ้าง
          -  ไม่สั่งเครื่องดื่มแบบเติมไม่อั้น โดยเฉพาะประเภทน้ำอัดลมแก้วเดียวแต่เติมหลายหน คุ้มเงินก็จริงแต่ไม่คุ้มกับสุขภาพกระดูกที่อาจพรุนได้ ให้สั่งเป็นน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้สดมาดื่มแทน
          -  สั่งชุดเล็กไว้ก่อน เพราะความหิวบางครั้งก็เป็นแค่เพียงอารมณ์อยากกิน พอได้ลิ้มรสชาติก็หายอยากแล้ว แต่ถ้าหิวจริงก็อย่ารอให้หิวจัด สั่งสลัดมารองท้องก่อนจะได้ไม่ต้องกินจานหลักเข้าไปมาก
          -  ต้องใจแข็งเข้าไว้ โดยอย่าเพิ่มชีส เพิ่มแป้ง หรือเพิ่มสารพัดความพิเศษที่เป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้กับมื้อนี้ เพราะสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา ก็คือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย

โภชนาการ
                โภชนาการเป็นการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหาร และการย่อยเพื่อให้ร่างกายดูดซึม การทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง
                นักกำหนดอาหารเป็นวิชาชีพสาธารณสุขผู้มีความชำนาญพิเศษในโภชนาการมนุษย์ การวางแผนมื้ออาหาร เศรษฐศาสตร์และการเตรียม พวกเขาได้รับการฝึกเพื่อให้คำแนะนำทางอาหารที่ปลอดภัยและอิงหลักฐาน และการจัดการต่อปัจเจกบุคคล ตลอดจนสถาบัน นักโภชนาการคลินิกเป็นวิชาชีพสาธารณสุขซึ่งมุ่งเจาะจงต่อบทบาทของโภชนาการในโรคเรื้อรัง ซึ่งรวมการป้องกันหรือการรักษาโรคที่เป็นไปได้โดยการจัดการกับการพร่องสารอาหารก่อนพึ่งยา
                อาหารไม่ดีอาจมีผลทำร้ายสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความพร่อง เช่น ลักปิดลักเปิด, สภาพที่ร้ายแรงถึงชีวิต เช่น โรคอ้วน และโรคเมทาบอลิก และโรคทั่วร่างกายเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด เบาหวานและกระดูกพรุน
                โภชนาการกับการกีฬา
                โภชนาการมีความสำคัญมากในการพัฒนาสมรรถภาพทางด้านกีฬา วิธีพัฒนาสมรรถภาพโดยการบริโภคที่ทำการโดยทั่วไปคือ บริโภคโปรตีนในปริมาณมากๆ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง เพื่อช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งประสิทธิภาพของวิธีดังกล่าวยังไม่แน่ชัด เพราะปริมาณของโปรตีนในอาหารทั่วไปที่บริโภคกันในทุกวันนี้ ก็มีมากกว่าปริมาณของโปรตีนในกล้ามเนื้อที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ในแต่ละวัน
                ในการเร่งการสังเคราะห์กล้ามเนื้อ นักกีฬาจะมีเป้าหมายในการหาวิธีที่สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้เร็วที่สุด การทำให้กล้ามเนื้อเย็นตัวหรือร้อนขึ้นเพื่อลดอาการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การบริหารร่างกายอย่างเบาๆ การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมทั้งการบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ เป็นหนทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ และก่อนเล่นกีฬา การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีสารละลายอิเล็กโทรไลต์ก็จะช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของร่างกายได้

สารอาหาร
                โปรตีน  
                ร่างกายต้องการกรดอะมิโนเพื่อสร้างโปรตีนขึ้นใหม่และเพื่อแทนที่โปรตีนที่เสื่อมสภาพซึ่งจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในร่างกายของสัตว์ ความต้องการกรดอะมิโนชนิดใดๆจะขึ้นอยู่กับว่ากรดอะมิโนชนิดนั้นๆเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น (ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้) หรือกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้จากสารประกอบไนโตรเจน) การบริโภคอาหารที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสัตว์
                วิตามิน
                วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องได้รับในบริมาณเล็กน้อย สำหรับการเติบโต ขยายพันธุ์ และช่วยให้มีสุขภาพดี ถ้าสิ่งมีชีวิตขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งจะมีอาการป่วยซึ่งมีลักษณะเฉพาะขึ้นกับวิตามินที่ขาด
                วิตามินแบ่งออกเป็น 2 จำพวก ได้แก่ วิตามินที่ละลายในน้ำ เช่น B1, B2, B3, B5, B6, B12, H, M, C เป็นต้น และวิตามินที่ละลายในไขมันเช่น A, D, E, K เป็นต้น
                ไขมัน
                ในทางเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวเคมี กรดไขมันเป็นกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาว มีทั้งอิ่มตัว (saturated) และไม่อิ่มตัว กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ของกรดไขมันจะเป็นการเพิ่มโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม
                ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล (oleochemical)
                คาร์โบไฮเดรต
                น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก อ้อย (sugar cane) , ต้นตาล (sugar palm) , ต้นมะพร้าว (coconut palm) , ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล (sugar maple) และ หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคส เป็นที่เก็บพลังงาน ที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยา ของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า "-โอส" (-ose) เช่น กลูโคส
               

เครื่องหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
                อาหารปลอดภัยกำลังมีบทบาทที่สำคัญในการค้าโลก และชีวิตประจำวัน บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการพืชอาหารปลอดภัย เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูล ข่าวสาร เนื้อหาสาระ และความเข้าใจ ในเรื่องความปลอดภัยของพืช อาหาร ตลอดจนช่วยรณรงค์ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ผลิต และผู้บริโภค ทำให้สินค้ามีมาตรฐานสากล ด้านความปลอดภัย และคุณภาพที่เหมือนกัน ทั้งตลาดภายใน และตลาดส่งออก ตลอดจนร่วมสนับสนุนนโยบายเพื่อนำครัวไทยไปสู่ครัวโลก
                - เครื่องหมายโครงการ อาหารปลอดภัย” Food Safety
2.
                อาหารปลอดภัย เป็นสัญญาลักษณ์ให้กับฟาร์ม แหล่งปลูก ที่ดำเนินการตาม GAP, COC และ GMP
รับผิดชอบโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นการรับรอง

                - เครื่องหมาย สุขภาพดี เริ่มที่อาหารปลอดภัย” Safe Food Good Health
3.
                ใช้กับอาหารสด เป็นสัญลักษณ์ให้กับร้านค้าที่ แผงที่จำหน่ายอาหารสด ในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นการรับรอง อาหาร ได้แก่ อาหารสด อาหารแปรรูป ปรุงจำหน่าย สารเคมีที่ตรวจ ได้แก่ บอร์แรกซ์ สารพิษตกค้างจากสารเคมี สารฟอกขาว สารกันเชื้อรา สารฟอร์มาลีน สารเร่งเนื้อแดง จุลินทรีย์ คลอแรมแฟนิคอลไนโตรฟูแรน
                - เครื่องหมาย อย.
4.
                เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

                - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยตรวจสอบรับรองเอกชน Eco Cert
5.
                เป็นหน่วยงานรับรองเอกชนของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งผู้ผลิตจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานนี้เท่านั้นจึงจะใช้ตรารับรองมาตรฐานนี้ได้
                - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยตรวจสอบรับรองเอกชน Bio AgriCert
6.
                ไบโออะกริเสิร์ช(ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐาน (Certification Body) มาจาก BioagricertS.r.l. ประเทศอิตาลี เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการตรวจสอบ และการเป็นผู้ให้การรับรองการผลิตสินค้าอินทรีย์ ซึ่งได้รับการยอมรับและแต่งตั้งโดยหน่วยงานซึ่งดูแลเกี่ยวกับการให้การ รับรองในยุโรป ซึ่งรับรองโดย IFOAM ตามข้อตกลงมาตรฐาน ISO 65 และ มาตรฐาน EN 45011
                - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.)
7.
                องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) เป็นองค์กรเอกชน ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และให้บริการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เฉพาะในภาคเหนือ
                - ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ Organic Thailand’s Brand
8.
                มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึงระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพวงจรชีวภาพโดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืชสัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม(genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน
                - มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.
9.
                เนื่องจากมีการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางอย่างที่เพิ่งเริ่มพัฒนาขึ้น ทาง มกท. จึงได้จัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เฉพาะที่เหมาะกับผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้นเหล่านี้ โดยขอบข่ายการตรวจรับรองที่ มกท. ได้จัดทำขึ้นแล้วในระบบนี้ คือ การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงผึ้ง การประกอบอาหารสำหรับร้านอาหารผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ตามระบบนี้ จะสามารถใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท. (ห้ามมีคำ “IFOAM Accredited” บนโลโก้)



                - มาตราฐานเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา (USDA)
10.
                USDA Organic ย่อมาจาก U.S. Department of Agriculture เป็นตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกา ขอบข่ายการตรวจรับรองในระบบนี้จึงเหมือนกับระบบของแคนาดา คือ การเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและธรรมชาติ และการแปรรูปและจัดการผลผลิต

สิทธิผู้บริโภค
                ความหมายของการบริโภคและผู้โภค
                ผู้บริโภคหมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
                สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค
                ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและเอกชน ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประชาชน ในฐานะผู้บริโภค ได้รู้จักคุ้มตรองสิทธิของตนเอง โดยไม่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ที่ต้องทนอยู่ในภาวะจำยอมไปโดยตลอด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลหรือเอกชนฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจดำเนินการ ให้สำเร็จไปได้ด้วยดี ผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่สำคัญ ในการที่จะคุ้มตรองสิทธิของตนเอง อย่างไรก็ตามเราพบว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากที่ละเลย เพิกเฉยที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเอง แม้ว่าจะถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้า ในลักษณะและรูปแบบต่างๆ ที่มักเป็นปัญหาของผู้บริโภค
                สิทธิผู้บริโภค
                ผู้บริโภคต้องมีความรอบคอบฉลาดในการตรวจสอบแสดงสินค้า คุณภาพปริมาณ และราคาว่ายุติธรรม สมควรซื้อมาบริโภคหรือไม่ อาจสำรวจสินค้าชนิดเดียวกันจากหลายๆร้าน  โดยไม่เชื่อข้อความโฆษณาทันที แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า ว่าจริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่
                                1. สิทธิจะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา คุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอกับสินคและบริการ
                                2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
                                3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
                                4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมทางสัญญา
                                5. สิทธิที่จะได้รับความพิจารณา และชดเชยความเสียหาย
                สิทธิผู้บริโภคสากล
                ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธุ์ผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มี 8 ประการดังนี้
                                1. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย
                                2. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร
                                3. สิทธิที่จะได้รับเครื่องมืออุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม
                                4. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
                                5. สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย
                                6. สิทธิที่จะได้รับบริโภคศึกษา
                                7. สิทธิที่จะได้รับความจำขั้นพื้นฐาน
                                8. สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด
                แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย
                1. ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้า  และบริการสุขภาพ  ผู้บริโภคต้องสามารถแยกความต้องการของตัวเองได้  ว่าเป็นความต้องการแท้  อะไรเป็นความต้องการเทียม  แล้วพิจารณาในการเลือกซื้อให้ดีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
                2. สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง  อย่างน้อยต้องมีฉลากภาษาไทย  ชื่อของผลิตภัณฑ์และที่ตั้งของผู้ผลิต  หรือ  ผู้แทนจำหน่าย  วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ  สำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีการแสดงส่วนประกอบหรือตำหรับ  วิธีบริโภค  ข้อควรระวังในการใช้หรือข้อจำเพราะอื่นๆ  ของแต่ผลิตภัณฑ์เพิ่มด้วย  หากเราอ่านฉลากจะมีประโยชน์ช่วยให้เราทราบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องสามารถหลีกเลียงสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการแพ้เกิดปัญหาในการบริโภค  เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้  นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องจากผลิตภัณฑ์สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินต่อผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วยหลังซื้อสินค้าหรือบริการเราจะต้องเก็บรักษาหลักฐานต่างๆ  เช่น  เอกสารโฆษณา  บิลเงินสด  สำเนาใบเสร็จรับเงิน  สัญญาซื้อขายเพื่อไว้ทำการเรียกร้องสิทธิของตนและควรจดชื่อสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้เพื่อประกอบการร้องเรียนในกรณีถูกละเมิดสิทธิ
                3. ในการซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพจะต้องมีความระเอียดในความพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ
                4. ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที่ เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
                5. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าว  คือ  มีเครื่องหมาย มอก. หรือมี  อย. เป็นต้น
                6. ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค
                การปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภค
                ผู้บริโภคควรคำนึงถึงบทบาท  หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภคที่พึงกระทำด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ผู้บริโภคจะได้มีส่วนได้รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิของตนเอง  โดยมีการปฏิบัติดังนี้
                1. การรวมกลุ่มหรือการรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ  หรือประสบปัญหาจากการบริโภค จึงทำไห้ผู้บริโภครวมตัวกันก่อไห้เกิดพลังของผู้บริโภคขึ้นในการเคลื่อนไหวหรือต่อรอง  ซึ้งพลังของผู้บริโภคนี้จะทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการใช้สิทธิและการรักษาผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ
                2. ศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต วิทยุ โทรทัศน์ วารสารหรือหนังสืออื่นๆ เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้และความรอบคอบในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
                3.มีส่วนในการเผยแพร่ความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสามารถทำได้หลายรู้แบบ  เช่น  การพูดคุย  การชี้แจง  ประชาสัมพันธ์  การใช้เสียงตามสายหอกระจายข่าว  ประชาชนผู้บริโภคหรือเด็กนักเรียน  เยาวชนผู้บริโภคทุกคนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ได้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้  เลือกซื้อสินค้าและบริการอย่าปรอดภัย  เป็นธรรมและประหยัด  เช่น  กิจกรรม  อย.น้อย  เป็นกิจกรรมที่ทำไห้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและช่วยเหลือผู้อื่น  เช่น  เพื่อน  ครอบครัว  ชุมชน  ด้วยการไห้ความรู้ทางด้านบริโภคอย่างเหมาะสม
                หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
                1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  สำนักงานนายกรัฐมนตรี  มีอำนาจหน้าที่รับแของผู้บริโภค  ที่ไห้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจ  สอดส่องพฤติการณ์  และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค  แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคไห้ผู้บริโภค
                2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต การจำหน่ายและโฆษณาต่างๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องสำอางวัตถุอันตราย ยา เรื่องมือแพทย์ และวัตถุเสพติดให้โทษ ให้เป็นไปตากฎหมาย
                3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยกองโภชนาการมีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและไห้คำปรึกษาแนะนำวิชาการด้านโภชนาการ
                4.กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุมสินค้าไห้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ไห้ผู้บริโภคเสียเปรียบ
                5.กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ การชั่ง ตวง และวัดสินค้า
                6.กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน
                7.สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวดสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม
                8.กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร
                9.คณะอนุกรมการคุมครองผู้บริโภคประจำจังหวัด มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากผู้บริโภค
                ถ้าผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรม  ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย  อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ  ผู้บริโภคสามารถไปแจ้งตามหน่วยงานต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องนั้นๆทั้งนี้  เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนที่พึงมีตามกฎหมาย
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

วัสดุและอุปกรณ์
                วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงงาน ได้แก่
                1. กระดาษเอ 4
                2. กระดาษโฟโต้ช็อป
                3. กระดาษอาร์ต
                4. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                5. เครื่องปริ้น
                6. กล้องถ่ายรูป
                7. ไมโครโฟน
                8. ลำโพง
               
ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
                1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 4 นั่งรวมกลุ่มช่วยกันคิดและวางแผนในการทำโครงงานและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับหัวข้อที่เกี่ยวกับอ.ย.น้อย
                2. หาหัวข้อที่ทุกคนสนใจร่วมกันร่วมกันการออกแบบขอบเขตของการทำโครงงานและแบ่งกลุ่มกันทำงาน 5 กลุ่ม คือ
                                - กลุ่มหาข้อมูล
                                - กลุ่ม Medie
                                - กลุ่มประชาสัมพันธ์
                                - กลุ่มฟิวเจอร์บอร์ด
                                - กลุ่ม 5 บท
                3. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ
                4. จัดทำโครงร่างการดำเนินงานและออกแบบโครงงาน
                5. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและนำข้อมูลมาจัดกระทำ
                6. ดำเนินงานตามที่โครงงานกำหนด
                7. สรุปผลการดำเนินโครงงาน
                8. จัดทำรูปเล่มรายงานโครงงาน
                9. รายงานผลการทำโครงงานและนำเสนอข้อมูลปฎิทินการปฏิบัติงาน
ปฏิทินการปฏิบัติงาน

ลำดับที่
กิจกรรม
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1
ร่วมประชุมวางแผน/หาหัวข้อที่สนใจ
.. 2558
นักเรียนชั้น ม.2/4
2
ออกแบบและแบ่งกลุ่มการทำงาน 5 กลุ่ม
.. 2558
นักเรียนชั้น ม.2/4
3
จัดทำปฎิทินการปฏิบัติงาน
.. 2558
นักเรียนชั้น ม.2/4
4
ศึกษาค้นคว้าข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
.. 2558
กลุ่มหาข้อมูล
5
จัดทำสื่อ/ประชาสัมพันธ์ตรงหอกระจายข่าวโรงเรียน
.. 2558
กลุ่ม Media/ประชาสัมพันธ์/ฟิวเจอร์บอร์ด
6
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
.. 2559
นักเรียนชั้น ม.2/4
7
จัดทำรูปเล่มรายงาน 5 บทและแผงนำเสนอโครงงานฯ
.. 2559
กลุ่ม 5
1. กลุ่มหาข้อมูล
2. กลุ่ม Medie
3. กลุ่มประชาสัมพันธ์
4. กลุ่มฟิวเจอร์บอร์ด
5. กลุ่ม ๕ บท
8
รายงานผลฯ
.. 2559
นักเรียนชั้น ม.2/4

 บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
                จากการจัดทำโครงงานพบว่า ปริมาณแคลอรี่ของอาหารขยะมีเกินความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องใช้ในแต่ละวัน เมื่อร่างกายเผาผลาญไม่หมดส่งผลให้เกิดการสะสมและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
                ปริมาณแคลอรี่ในอาหารขยะและการเผาผลาญโดยการวิ่ง
·       แฮมเบอร์เกอร์ชีสไก่ ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 280 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 4.5 กิโลเมตร
·        แซนด์วิชแฮมชีส ปริมาณ 1 คู่ ให้พลังงาน 290 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 4.6 กิโลเมตร
·       พิซซ่าหน้ารวมมิตรถาดกลาง ปริมาณ 373 กรัม ให้พลังงาน 876 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 14.1 กิโลเมตร
·       พิซซ่าหน้าซีฟู้ดถาดกลาง ปริมาณ 347 กรัม ให้พลังงาน 781 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 12.6 กิโลเมตร
·       เฟรนช์ฟรายส์ ขนาดกลาง ปริมาณ 94 กรัม ให้พลังงาน 314 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 5 กิโลเมตร
·       ไก่ทอด (ต้นตำรับ) ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 103 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 1.7 กิโลเมตร
·       นักเก็ต ปริมาณ 6 ชิ้น ให้พลังงาน 277 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 4.5 กิโลเมตร
·       ฮอตดอก ปริมาณ 149 กรัม (1 ชิ้น) ให้พลังงาน 398 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 6.4 กิโลเมตร
·       แยมโรล ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 310 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 5 กิโลเมตร
·       โดนัท ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 1.6 กิโลเมตร
·       เค้กเนยแต่งหน้า ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 405 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 6.5 กิโลเมตร
·       เค้กกล้วยหอม ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 370 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 6 กิโลเมตร
·       พายชีสบลูเบอรี่ ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 350 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 5.6 กิโลเมตร
·       พายสับปะรด ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 505 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 8 กิโลเมตร
·       เอแคลร์ใส่ครีม ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 225 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 3.6 กิโลเมตร
·       ขนมปังสังขยา ปริมาณ 1 ชิ้น ให้พลังงาน 230 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 3.7 กิโลเมตร
·       คุกกี้เนย ปริมาณ 2 ชิ้น ให้พลังงาน 210 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 3.3 กิโลเมตร
·       ช็อกโกแลต ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 242 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 3.9 กิโลเมตร
·       ไอศกรีมโคน (ทุกรส) ปริมาณ 1 โคน ให้พลังงาน 130 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 2 กิโลเมตร
·       ไอศกรีมแท่ง ปริมาณ 1 แท่ง ให้พลังงาน 205 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 3.3 กิโลเมตร
·       โกโก้ ปริมาณ 1 แก้ว ให้พลังงาน 210 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 3.38 กิโลเมตร
·       กาแฟเย็น ปริมาณ 1 แก้ว ให้พลังงาน 115 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 1.8 กิโลเมตร
·       น้ำอัดลม (น้ำดำ) ปริมาณ 325 ซี.ซี. (1 กระป๋อง) ให้พลังงาน 130 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ 2 กิโลเมตร
·       ชาเขียวรสต้นตำรับ ปริมาณ 250 ซี.ซี. (1 กล่อง) ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ  1.2 กิโลเมตร
·       ชาดำเย็น ปริมาณ 1 แก้ว ให้พลังงาน 110 กิโลแคลอรี ต้องวิ่งประมาณ  1.7 กิโลเมตร
                10 อาหารขยะที่อันตรายที่สุดในโลก
                1. แฮมเบอร์เกอร์ ทำมาจากเนื้อส่วนที่เหลือที่แย่ที่สุดจากโรงฆ่าสัตว์ เนื้อส่วนใดที่ขายเป็นส่วนของมันไม่ได้แล้วจะกองอยู่ที่พื้น และนำมาบดทำเป็นเบอร์เกอร์ รวมทั้งกีบ กระดูก จมูก หูและส่วนอื่นๆของมัน เพราะว่าเบอร์เกอร์ทั้งหมดทำมาจากสัตว์ จึงสามารถขึ้นป้ายว่า เนื้อวัวแท้ (Pure beef)แฮมเบอร์เกอร์ทั้งหมดจะใส่สารปรุงรส (MSG=Monosodium Glutamate) ทำให้ปวดศีรษะและเกิดอาการแพ้ MSG เป็นสารเคมีที่ห้องปฏิบัติการทดลองใช้ช่วยทำให้สัตว์อ้วนขึ้น และท้ายที่สุดก็ทำให้ท่านอ้วนขึ้นด้วย  อุตสาหกรรมปศุสัตว์ เป็นผู้ใช้ยาปฏิชีวนะมากที่สุดในโลก เพื่อใช้ในการหักล้างแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในเนื้อ
                2. ฮอทด็อก ทำมาจากเนื้อส่วนที่เหลือที่แย่ที่สุดจากโรงฆ่าสัตว์ เนื้อส่วนใดที่ขายเป็นส่วนของมันไม่ได้แล้วจะกองอยู่ที่พื้น และนำมาบดทำเป็นเบอร์เกอร์ รวมทั้งกีบ กระดูก จมูก สันจมูก หู เล็บและส่วนอื่นๆของมัน เพราะว่าฮอทด็อกทั้งหมดทำมาจากสัตว์ จึงสามารถขึ้นป้ายว่า เนื้อวัวแท้ (Pure beef) หรือ ทำจากไก่งวงแท้ 100%
                3. เฟรนช์ฟราย เป็นอาหารที่มี ความเป็นพิษสูงการทอดเฟร้นช์ฟราย จะทอดกันที่อุณหภูมิสูง   ทำให้มีสารเคมีอะคริลิไมด์(Acrylimides) ออกมา ซึ่งรู้จักกันดีว่า เป็นสารก่อโรคมะเร็งและทำลายประสาท
                4. โอริโอ้ คุกกี้ ที่เด่นชัดมากก็คือ ส่วนของน้ำตาลมีอยู่สูงถึง 23 กรัมเลยทีเดียว ช็อกโกเล็ตนั้นเป็นสารอาหารรายการสุดท้าย นั่นหมายความว่า มีช็อคโกเล็ตประกอบอยู่น้อยมาก น้ำตาลปริมาณสูง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นและเกิดริ้วรอยได้เร็วยิ่งขึ้น
                5. พิซซ่าในเชิงทางการค้าจะประกอบไปด้วยอาหารที่มาจากการตัดแต่งทางพันธุ์กรรม 5 ชนิด
                                - เนยแท้ (cheese) เพียง 10% เท่านั้น
                                - แป้งที่ผ่านการปรุงแต่งให้ขาวที่ได้ทำการฟอกสี ทำให้วิตามินและเกลือแร่ออกไปแล้ว แต่ได้ทำการเติมเกลือแร่สังเคราะห์ตามจำนวนโมเลกุลที่มันเคยมีอยู่เข้าไปใหม่
                                - ซอสมะเขือเทศ ทำด้วยสารที่คล้ายมะเขือเทศที่สร้างยาฆ่าแมลงของมันขึ้นมาได้เอง ในร่างกายของท่าน
                                - แป้งสาลีที่นำมาใช้เป็นแป้งชนิดที่มีการตัดแต่งทางพันธุ์กรรม
                                - มีน้ำมันฝ้ายประกอบอยู่ด้วย ฝ้ายไม่ได้จัดเป็นพืชพวกอาหาร มันผ่านการสเปรย์ด้วยยาฆ่าแมลงที่ชาวไร่ใช้
                6. น้ำอัดลม สารตัวสำคัญที่มีอยู่ในโค้กก็คือกรดกำมะถัน (Phosphoric acid) ในด้านความเป็นกรดด่าง มันมีความเป็นกรดอยู่สูงมากพอที่จะละลายตะปูได้ภายใน 4 วันกรดที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้ยากที่จะทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้
                7. ชิ้นไก่เนื้อนุ่มไม่มีกระดูก ทำมาจากชิ้นส่วนของไก่ที่ไม่ใช้แล้ว น้อยมากที่จะทำมาจากเนื้อขาวจริงๆการรับประทานต่อครั้งโดยทั่วไป จะให้พลังงาน 340 แคลอรี่ 50% เป็นไขมันมีแป้งขนมปังผสมอยู่มาก จึงมีคาร์โบไฮเดรตอยู่สูง มีการเติมสารปรุงรส (MSG=Monosodium Glutamate) ทำให้ปวดศีรษะ
                8. ไอศกรีม มีไขมันอยู่สูงมาก (ขนาดปกติ 4 ออนซ์) มีไขมันเกินกว่า 50% ของไขมันที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวันมีคาร์โบไฮเดรตอยู่มาก เกือบ 40% ของคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวันมีน้ำตาลอยู่มาก ทำให้มีความกระหายน้ำตาลมากยิ่งขึ้น เป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น
                9. โดนัท โดยเฉลี่ยแล้ว จะให้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี่ ในโดนัทหนึ่งชิ้นมีแป้งคาร์โบไฮเดรตอยู่มากกว่า 50% ของที่แนะนำให้บริโภคต่อครั้งต่อวัน  มีเกลือโซเดียมอยู่สูงมาก ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
                10. โปเตโต้ชิพ อาหารขบเขี้ยว การทอดโปเตโต้ชิพจะทอดกันที่อุณหภูมิสูงทำให้มีสารเคมีอะคริลิไมด์ (Acrylimides) ออกมา ซึ่งรู้จักกันดีว่า เป็นสารก่อโรคมะเร็งและทำลายประสาท  กินมันฝรั่งทอดเพียงวันละ 1 ถุง เท่ากับซดน้ำมันพืชปีละ 5 ลิตร
                ข้อดีของอาหารขยะ
                1. ช่วยประหยัดเวลา
                2. เลือกใส่เครื่องได้ตามใจชอบ
                3. ราคาประหยัด
                ข้อเสียของอาหารขยะ
1. สารอาหารไม่เพียงพอ
                2. เป็นตัวการทำให้อ้วน
                3. ทำให้ติดโดยไม่รู้ตัว
                4. เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ
การนำไปใช้
                1. เพื่อวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของอาหารขยะ
                2. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจ
                3. เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                4. เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคต่างๆที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และไม่ถูกหลักโภชนาการ
                บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา
                จากการทำโครงงานพบว่า อาหารขยะมีปริมาณแคลอรี่ที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย เมื่อมีการเผาผลาญไม่หมดทำให้เกิดการสะสมของไขมันและคาร์โบเดรต สิ่งที่ส่งผลตามมาคือการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

ข้อเสนอแนะ
                1. ควรเลือกบริโภค แต่ควรบริโภคในจำนวนน้อย
                2. เมื่อบริโภคแล้วควรออกกำลังกายทุกครั้ง
                3. ควรดูหน่วยการบริโภคก่อนการบริโภคทุกครั้ง




               


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น